วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

แหล่งการเรียนรู้ ใจกลาง มศว




 แหล่งการเรียนรู้ ใจกลาง มศว

ประวัติห้องสมุดโดยสังเขป  

           พ.ศ. 2497  แผนกหอสมุด วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก อยู่ในสังกัดสำนักงานอธิการมีพื้นที่ทำการในห้องหนึ่งของอาคาร 3 ปัจจุบัน
              พ.ศ. 2498 - 2505  หอสมุดได้รับทุนและความช่วยเหลือจาก The United States Agency for International Development ( USAID ) ในการสร้างอาคารเฉพาะสำหรับหอสมุดหลังแรก (ปัจจุบันเป็นที่ทำการสโมสรนิสิต) และจัดส่งอาจารย์ซึ่งสอนและทำงานวิชาชีพบรรณารักษ์ด้วยไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยอินเดียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มดำเนินการระบบห้องสมุดสมัยใหม่ซึ่งเป็นแบบอย่างแก่ห้องสมุดของ สถาบันอื่นๆ
ของประเทศไทยในขณะนั้น
              พ.ศ. 2514  ได้สร้างอาคารเพิ่มอีก 1 หลัง เชื่อมต่อกับอาคารหลังแรก (ปัจจุบันเป็นที่ทำการของสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา)
              พ.ศ. 2517  หอสมุดได้รับการยกฐานะเป็น สำนักหอสมุดกลาง เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีฐานะเทียบเท่าคณะ มีผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชา
              พ.ศ. 2528 - 2532  ได้สร้างอาคารสำนักหอสมุดกลางหลังปัจจุบัน และได้ขอพระราชทานพระนามาภิไธย "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ" อัญเชิญจารึกเป็นชื่ออาคาร เป็นอาคารสูง 7 ชั้น ขนาด 42.5 ? 34 เมตร พื้นที่ 10,200 ตารางเมตร เก็บหนังสือได้ประมาณ 300,000 เล่ม ที่นั่งอ่านประมาณ 1,200 ที่นั่ง
             พ.ศ. 2543 - 2544  ได้ต่อเติมอาคารชั้น 8 ได้พื้นที่เพิ่มอีก ประมาณ 1,500 ตารางเมตร จัดทำเป็นห้องประชุมขนาด 160 ที่นั่ง 1 ห้อง ห้องประชุมกลุ่มย่อยและห้องบัณฑิตศึกษา ปัจจุบัน สำนักหอสมุดกลาง มีห้องสมุดในสังกัดอีก 2 แห่ง คือ หอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ และห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ณ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ สำหรับนิสิตของมหาวิทยาลัยที่ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก

ทำเนียบผู้อำนวยการ สำนักหอสมุดกลาง

  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศีลา จายนียโยธิน  
          หัวหน้าห้องสมุด

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาเรีย เหล่าสุนทร 
          หัวหน้าห้องสมุด

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชญ์ ทับเที่ยง 
         ผู้อำนวยการ : 15 มกราคม 2519 – 14 มกราคม 2523      
         รักษาราชการแทน : 15 มกราคม 2523 – 6 กุมภาพันธ์ 2523

 อาจารย์ ดร. สุนทร แก้วลาย   
         ผู้อำนวยการ : 7 กุมภาพันธ์ 2523 – 6 กุมภาพันธ์ 2527

 รองศาสตราจารย์สุพัฒน์ ส่องแสงจันทร์ 
         ผู้อำนวยการ : 7 กุมภาพันธ์ 2527 – 31 กรกฎาคม 2533

 อาจารย์นงนวล พงศ์ไพบูลย์  
         ผู้อำนวยการ : 1 สิงหาคม 2533 – 31 กรกฎาคม 2537

 รองศาสตราจารย์เฉลียว พันธุ์สีดา 
         ผู้อำนวยการ : 1 สิงหาคม 2537 – 31 กรกฎาคม 2541      
         รักษาราชการแทน : 1 สิงหาคม 2541 – 31 พฤษภาคม 2542

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วีระ สุภากิจ  
         ผู้อำนวยการ : 1 มิถุนายน 2542 – 22 ธันวาคม 2545      
         รักษาราชการแทน : 23 ธันวาคม 2545 – 9 กุมภาพันธ์ 2546

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์นงนารถ ชัยรัตน์ 
         ผู้อำนวยการ : 10 กุมภาพันธ์ 2546 – 9 กุมภาพันธ์ 2554      
         รักษาราชการแทน : 10 กุมภาพันธ์ 2554

 อาจารย์สาโรช เมาลานนท์  
         ผู้อำนวยการ : 11 กุมภาพันธ์ 2554 – ปัจจุบัน





บริการของสำนักหอสมุดกลาง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

      เวลาทำการ
ภาคปกติ: จันทร์-ศุกร์ 8.00-20.00 น. ปิดภาคเรียน: จันทร์-ศุกร์ 8.00-16.00 น.
เสาร์-อาทิตย์ 9.00-19.00 น. เสาร์-อาทิตย์ ปิดบริการ
ชั้น 1
บริการสื่อโสตทัศน์ สืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต 
มุมโสตทัศน์ 
เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนโสตทัศน์ 
 งานเทคโนโลยีทางการศึกษา 
     ผลิตโสตทัศนวัสดุเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน 
     บริการห้องโสตทัศน์ พร้อมโสตทัศนูปกรณ์ ห้องประชุมชั้น 2 และชั้น 8 
     ให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้โสตทัศนวัสดุและโสตทัศนูปกรณ์ 
     บริการห้องประชุม ชั้น 2 และชั้น 8 และห้องศึกษาค้นคว้าสำหรับบัณฑิตศึกษา ชั้น 3 
     ศูนย์การเรียนรู้นานาชาติด้วยตนเอง (SALI Center) 
     ห้องฝึกอบรม (ห้อง 102) (ติดต่อขอใช้ห้องที่เคาน์เตอร์บริการตอบคำถามและช่วยการศึกษา
ค้นคว้า ชั้น 2) 
     โถงด้านนอก อ่านหนังสือพิมพ์ และจุดใช้ Notebook
ชั้น 2

บริการยืม-คืน บริการหนังสืออ้างอิง

บริการตอบคำถามและช่วยการศึกษาค้นคว้า

     เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนหนังสือทั่วไป/ปริญญานิพนธ์ 
     เคาน์เตอร์บริการตอบคำถามและช่วยการศึกษาค้นคว้า 
     บริการตอบคำถาม 
     บริการคอมพิวเตอร์สืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ 
     บริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ 
     บริการยืมระหว่างห้องสมุด   

บริการของสำนักหอสมุดกลาง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 

     บริการยืมเอกสารพิเศษ 
     บริการรับแจ้งของหาย 
     บริการห้องฝึกอบรม (ห้อง 102) 
     หนังสืออ้างอิง คู่มือการศึกษา/จุลสาร/กฤตภาค 
     มุมจัดแสดงหนังสือใหม่ 
     มุม Smart Library 
     มุมเปิดโลกอิสลาม 
     ห้องประชุม ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร 
     จุดใช้ Notebook และ Wireless LAN
ชั้น 3
บริการวารสาร หนังสือพิมพ์ 
     บริการวารสาร/หนังสือพิมพ์ในระบบชั้นเปิด 
     เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนวารสารและหนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังในระบบชั้นปิด 
     ห้องศึกษาค้นคว้าสำหรับบัณฑิตศึกษา (ติดต่อขอใช้ห้องที่งานเทคโนโลยีทางการศึกษา ชั้น 1) 
     จุดใช้ Notebook และ Wireless LAN 
     บริการถ่ายเอกสาร
ชั้น 4
บริการหนังสือทั่วไปหมวด 000-200 ปริญญานิพนธ์ หนังสือสำรอง 
     หนังสือทั่วไปภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ หมวด 000-200 
     ปริญญานิพนธ์ และมุมสืบค้น E-Thesis 
     เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนหนังสือสำรอง (Reserved Books) ปริญญานิพนธ์อ้างอิง เอกสาร มศว
และหนังสือห้องศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช 
     ห้องศึกษาค้นคว้าเป็นกลุ่มสำหรับนิสิต (ติดต่อขอใช้ห้องที่เคาน์เตอร์บริการ ชั้น 4) 
     จุดใช้ Notebook และ Wireless LAN
ชั้น 5
บริการหนังสือทั่วไปหมวด 300-500 หนังสือหมวดแพทยศาสตร์ 
     หนังสือทั่วไปภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ หมวด 300-500 
     หนังสือแบบเรียน และหลักสูตร 
     หนังสือหมวดแพทยศาสตร์ 
     มุมความรู้ตลาดทุน (SET Corner) 
     มุม มศว บูรณาการ 
     ห้องศึกษาค้นคว้าสำหรับอาจารย์ 
     ห้องศึกษาค้นคว้าเดี่ยวและกลุ่มสำหรับนิสิต (ติดต่อขอใช้ห้องที่เคาน์เตอร์บริการ ชั้น 4) 
     บริการถ่ายเอกสาร 
     จุดใช้ Notebook และ Wireless LAN
ชั้น 6
บริการหนังสือทั่วไปหมวด 600-900 นวนิยาย หนังสือเด็ก 
     หนังสือทั่วไปภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ หมวด 600-900 
     นวนิยาย เรื่องสั้น 
     มุมคุณธรรม 
     มุมหนังสือพุทธธรรม 
     ห้องศาสตราจารย์สาโรช บัวศรี (ห้อง 601) 
     ห้องมาเรีย (หนังสือเด็ก) (ห้อง 602) 
     ห้องศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช (ห้อง 603) (ต้องการใช้หนังสือ ติดต่อเคาน์เตอร์บริการ ชั้น 4) 
     ห้องศาสตราจารย์คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส 
     ห้องศึกษาค้นคว้าเดี่ยวและกลุ่ม (ติดต่อขอใช้ห้องที่เคาน์เตอร์บริการ ชั้น 4) 
     จุดใช้ Notebook และ Wireless LAN
ชั้น 7
สำนักงานผู้อำนวยการ 
     ห้องผู้อำนวยการ/สำนักงานผู้อำนวยการ (ห้อง 701) 
     งานวิเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ 
     งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 
     ห้องประชุมสำนักหอสมุดกลาง (ห้อง 702, 710) 
     ห้องโครงการ International Network of UNESCO Associated Libraries (ห้อง 703) 
     ห้องสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ห้อง 705) 
     ห้องอเนกประสงค์ (ห้อง 706)
ชั้น 8
ห้องประชุม 
     ห้องประชุมหลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ (ห้อง 8101) 
     ห้องประชุม (ห้อง 8105, 8110, 8111) 
     ห้องอเนกประสงค์ (ห้อง 8102-8104) 
     ห้องละมาด (ติดต่อขอใช้ห้องที่สำนักงานผู้อำนวยการ ชั้น 7)

☺ การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดกลาง
สืบค้นได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดให้บริการ ณ ชั้น 1- 6 หรือสืบค้นผ่านเว็บไซต์ http://lib.swu.ac.th
ในหัวข้อ OPAC หรือเข้าใช้โดยตรงที่ http://library.swu.ac.th
☺ บริการอื่นๆ : 
     บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด สอนและแนะนำวิธีการสืบค้นสารสนเทศทั้งจากฐานข้อมูล
ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดและฐานข้อมูลออนไลน์ และอบรมการใช้โปรแกรมเอ็นด์โน้ต
(ติดต่อเคาน์เตอร์ตอบคำถาม ชั้น 2) 
     บริการหาหนังสือที่มีสถานะ (Status) เป็น In process (กรุณาติดต่อเคาน์เตอร์ตอบคำถาม ชั้น 2
ระหว่างเวลา 8.00-11.00 น. และ 12.00-15.00น. ในวันจันทร์-ศุกร์เท่านั้น) 
     บริการค้นหาหนังสือที่มีสถานะ (Status) เป็น Checked In แต่ไม่พบตัวเล่มบนชั้น (กรุณากรอก
แบบฟอร์มเพื่อใช้บริการได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนชั้น 2) 
     บริการเครือข่าย Wireless สามารถใช้บริการได้ ณ บริเวณชั้น 1-6 โดยต้องมี ID สำหรับเข้าใช้
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 
     บริการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต สามารถใช้บริการได้ ณ SALI Center ชั้น 1 และ Smart Library
ชั้น 2 โดยต้องมี ID สำหรับเข้าใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย (เข้าใช้ครั้งแรก
กรุณาติดต่อที่เคาน์เตอร์บริการ ชั้น 1)
ติดต่อสอบถาม...
โทร. 02-2584002-3 ต่อ 117, 119, 125
โทรสาร : 02-2604514
E-mail: library@swu.ac.th Website: http://lib.swu.ac.th
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ถนนสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ ฯ 10110
โทร. 02-6495443 โทร. 02-6495000 ต่อ 5386, 5379
กลุ่มงานส่งเสริมผู้ใช้ งานบริการทรัพยากรสารสนเทศ


ภายนอก หอสมุด



ภายในหอสมุด


ภาพมุมสูงของหอสมุด


ภายในหอสมุด

มาอ่านหนังสือกันนะ

      


 การเดินทาง

      เดินทางจาก ตึกศิลปกรรม ไป หอสมุด เดินข้ามจากตึกศิลปกรรมศาสตร์ฝั่งข้างตึกถนนมา ก็จะเจอหอสมุดคะ

 

 



วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทบาทและความสำคัญของนวัตรกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ


  • ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอด เวลา
  • พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็น อยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่าง กันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษา พูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสาร มากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้าน คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

  • เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์

    1.ทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
    2.สื่อสารกันง่ายขึ้น
    3.ใช้เวลาในการดำเนินชีวิตได้มากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาในการทำเรื่องต่างๆให้ยุ่งยาก
    4.สร้างความบันเทิงให้ได้ทุกที่ทุกเวลา
    5.ช่วยทำให้การผลิตอุตสาหกรรมดีขึ้น
    6.ส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ดีขึ้น

    นวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อตัวเรา

    1.นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงาน
    2. ทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น


    ผลเสียของนวัตกรรมและเทคโนโลยี 

    1.ทำให้เกิดอาชกรรมทางคอมพิวเตอร์
    2.ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอยลง
    3.ทำให้เิกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว



    จับเด็ก 14 ปี แฮกข้อมูลเว็บไซต์ดังในไต้หวัน

    (5 ก.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน จูเนียร์แฮกเกอร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อายุเพียง 14 ปี ชาวไต้หวัน ถูกจับกุมข้อหาคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยเขาเจาะข้อมูลทำให้คอมพิวเตอร์ติดไวรัสปรากฏภาพมือเปื้อนเลือดบนหน้าจอ แม้แต่สถาบันเทคโลโลยีชื่อดังของไต้หวันที่มีการป้องกันอย่างเข้มงวดเขายัง ได้รับความเสียหาย
    พ่อแม่ของจูเนียร์แฮกเกอร์ เล่าว่า สาเหตุอาจเป็นเพราะพวกเขาทำงานหนักจนไม่มีเวลาใส่ใจ ลูกชายเป็นเด็กที่ชอบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก สั่งซื้อหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จากอินเตอร์เน็ตมาศึกษาด้วยตนเอง พ่อแม่เห็นว่าลูกชายชอบทางด้านนี้จึงส่งเขาไปเรียนพิเศษที่ Chihlee Institute of Technology (CIT) เป็นสถาบันเทคโนโลยีชื่อดังของไต้หวัน โดยไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าลูกชายจะเป็นแฮกเกอร์
    จูเนียร์แฮกเกอร์ ให้การต่อศาลว่า ตอนที่เข้าเรียนนั้นตนรู้สึกกดดันและทรมาณมาก ด้วยความที่ต้องการระบายอารมณ์และอยากลองทดสอบความสามารถของตัวเอง เขาเลือกสถาบันเทคโนโลยีที่เขาเรียนพิเศษอยู่เป็นเป้าหมาย
    ตำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ชี้ให้เห็นว่าจูเนียร์แฮกเกอร์คนนี้มี ความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนมาก เขาได้แฮ็คเข้าไปในเว็บไซต์ซึ่งมีระบบการป้องการอย่างเข้มงวด ความสามารถของเขาน่าทึ่งมาก แม้แต่เขายังต้องศึกษาการเจาะระบบของเขาอย่างจริงจัง เพื่อใช้สำหรับการสอนในโรงเรียนตำรวจ
    หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบค้น IP และทำการตรวจค้นบ้านพักของเขา พบว่าห้องนอนของเขาเต็มไปด้วยหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงหนังสือที่เป็นอักษรจีนตัวย่อซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับการถอดเข้ารหัส ลับระบบซอฟแวร์คอมพิวเตอร์
    จากการสืบสวนพบว่า จูเนียร์แฮกเกอร์คนนี้ได้รวบรวมเทคนิคการเจาะข้อมูลที่เขาศึกษาด้วยตนเอง แฮ็คเข้าสู่ระบบโฮสต์ของหลายเว๊ปไซต์ได้สำเร็จ เช่น เว็ปไซต์ของโรงเรียนมัธยมที่เขากำลังศึกษาอยู่ , Chihlee Institute of Technology สถาบันเทคโนโลยีชื่อดังของไต้หวัน , นอกจากนี้เขายังแฮ็คข้อมูลของเว๊ปไซต์รวมสูตรอาหาร รวมถึงเว๊ปไซต์หนังและเพลงอีกด้วย





    สรุปประเ็ด็นข่าว
    ในปัจจุบันนี้ผู้คนทุกเพศทุกวัยย่อมใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ทั้งการทำงาน การเรียน และความบันเทิงแต่ก็มีกลุ่มคนไม่น้อยเลยที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในทางที่ผิด รวมถึงเด็กคนนี้ด้วยที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มาก แต่นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง สาเหตุที่เด็กคนนี้เป็นแบบนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ พ่อ แม่ ไม่ดูแลเอาใจใส่เพราะสภาพสังคมต้องแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอดจึงทำให้เด็กๆต้องอยู่คนเดียวไม่มีผู้ชี้นำว่าอะไรผิดอะไรถูก

    วิเคราะห์ผลของการกระทำ
    เผยแพร่ไวรัสโดยการเจาะข้อมูลแล้วปล่อยไวรัสเข้าไปทำลายระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทำให้ผู้คนได้รับความเสียหายทั้งด้าน ทรัพย์สินและความมั่นคง



    พระราชบัญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 
    และมีบทลงโทษดังนี้

    มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    รู้จักกันนะ


    มารู้จักกัันนะคะ

    ดิฉันชื่อว่า นางสาว อุษา  รัตนเจริญ ชื่อเล่น ษา
    เรียนอยู่ คณะศิลปกรรม เอกดนตรีศึกษา - ดนตรีไทย  เครื่องมือเอก ขลุ่ยเพียงออ
    เกิดวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2534
    บ้านเลขที่ 10 ม.6 ต.หรเทพ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี
    บิดามารดา ทำอาชีพเกษตรกร พ่อมักพูดเสมอว่า เราจะมาขายวัวส่งควายเรียน

     ครอบครัวของดิฉัน

    ดิฉันมีพี่น้องทั้งหมด 2 คน ดิฉันเป็นพี่คนโต และมีน้องชายอีก 1 คน ชื่อ พิพัฒน์  รัตนเจริญ  น้องแซ็ก
    ดิฉันอยู่กับยายมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ ดิฉันประทับใจในการเลี้ยงดู การสอนให้รู้บาปบุญคุณโทษ พาเข้าวัดตั้งแต่เด็กๆทำบุญทำทาน ขี้สงสาร ดิันรักยายมากๆเลยคะ แต่ตอนนี้ยายของดิฉันเสียไปแล้วคะ 
    เสียไป 6 ปีแล้ว ตอนนี้คิดถึงยายมากๆ ส่วนพ่อกับแม่ของดิฉันนั้นต้องออกไปทำนาตั้งแต่เช้ากลับบ้านตอนดึกๆเพราะสมัยก่อนบ้านดิฉันจนมาก ก็คิดเอาคะดิฉันที่คอกวัวกับวัวอะคะ บอกตรงๆว่าพ่อแม่ของดิฉันเก่งมากจากคนที่ยากจนมากๆ ปัจจุบัน เริ่มพอมีพอใช้ในครอบครัว ดิฉันไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เลย เลยไม่ค่อยสนิทกันเท่าแต่พ่อแม่ของดิฉันให้ดิฉันเลือกทางเดินชีวิตเองไม่เคยบังคับอย่างบางครอบครัวที่พ่อแม่ อยากให้เรียน หมอเรียนครู คะ ทุกวันนี้ดิฉันมีความสุขมากคะ และครอบครัวเราก็อยู่กันอย่างมีความสุขมาๆเลย




    จุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิตคือ
     
          อยากจะมีครอบครัวที่มีความสุขทำงานหาเลี้ยงตนเองและพ่อแม่ได้ ไม่ต้องการที่จะมีลาภยศอะไรมากมาขอแค่มีความสุขกับการเป็น ครู ที่ดีของนักเรียน เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ อนาคตอยากจะกลับไปสอนดนตรีอยู่โรงเรียน หรเทพ (รุ่งเรืองประชาสามัคคี) อยากกลับไปพัฒนาโรงเรียนบ้านเกิดมืองนอน
     
    ด้านดนตรีไทย ที่อยากเล่าให้ฟัง
          ดิฉันเริ่มเรียนดนตรีไทยตั้งแต่ ชั้นประมศึกษาปีที่ 2 โดยผู้สอนคือ คุณครู มนู นิลแก้ว และศึกษาต่อมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน ความสามารถทางด้านดนตรีของดิฉันถึงแม้จะไม่เด่นมาแต่ก็ไม่ถึงกับแย่เสียที เดียว เครื่องมือเอกของดิฉัน คือ ขลุ่ยเพียงออ ดิฉันสามารถเป่าขลุ่ยได้ดีกว่าเครื่องมืออื่นอาจจะเพราะมีพรสวรรค์ทางด้าน ขลุ่ยเพียงออ จึงได้มาเล่นเครื่องดนตรีชิ้นนี้